Broker(โบรกเกอร์)

ตัวกลางเชื่อมต่อการซื้อขาย ระหว่างผู้ลงทุนในโฟเรกซ์รายย่อย(บุคคลทั่วไปอย่างเราๆ) กับตลาดโฟเรกซ์

โบรกเกอร์เรียกย่อๆว่า “นายหน้า”  ตลาดโฟเรกซ์ ไม่อนุญาตให้บุคคลทั่วไป เข้าไปทำการลงทุนได้เอง

ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาตรงจุดนี้ โบรกเกอร์จึงเข้ามาทำหน้าที่แทนเรา และทำให้เราได้โอกาสในการเข้าไปลงทุน

ในตลาดโฟเรกซ์ได้นั่นเอง การเลือกโบรกเกอร์ FOREX คลิ๊กที่นี่

Currency Pair

คู่ของสกุลเงินที่เราใช้ในการซื้อขายผลต่างระหว่างคู่สกุลนั้น

เช่น การซื้อขายคู่สกุลเงิน EUR/USD , GBP/USD , EUR/JPY , USD/JPY เป็นต้น

Pip

จุดทศนิยมตัวสุดท้ายของราคาคู่สกุลเงินที่คำนวณเป็นทศนิยม 4 ตำแหน่ง

เช่น ราคาของ GBP/USD จะเท่ากับ 1.2950

ถ้าราคาของ GBP/USD เปลี่ยนเป็น 1.2952

แปลว่าราคาได้เปลี่ยนไป 2 pip นั่นเอง

แต่ยังมีอีกหลายคู่สกุลเงินคำนวณเป็นทศนิยม 2 ตำแหน่ง

เช่น ราคาของ USD/JPY จะเท่ากับ 109.55

ถ้าราคาของ USD/JPY เปลี่ยนเป็น 109.59

แปลว่าราคาได้เปลี่ยนไป 4 pip เป็นต้น

Point หรือ Pipette

จุดทศนิยมตัวสุดท้ายของราคาคู่สกุลเงินที่คำนวณเป็นทศนิยม 5 ตำแหน่ง

เช่น ราคาของ GBP/USD จะเท่ากับ 1.29580

ถ้าราคาของ GBP/USD เปลี่ยนเป็น 1.29581

แปลว่าราคาได้เปลี่ยนไป 1 point นั่นเอง

แต่ยังมีอีกหลายคู่สกุลเงินคำนวณเป็นทศนิยม 3 ตำแหน่ง

เช่น ราคาของ USD/JPY จะเท่ากับ 109.452

ถ้าราคาของ USD/JPY เปลี่ยนเป็น 109.458

แปลว่าราคาได้เปลี่ยนไป 6 point เป็นต้น

โดย 1 pip = 10 point นั่นเอง

Lot ปริมาณหรือขนาดการซื้อขาย คู่สกุลเงิน ในตลาดโฟเรกซ์ การคำนวณ Lot คลิ๊กที่นี่
Buy การเข้าออเดอร์ในทิศทางที่คาดว่าราคาจะขึ้น
Sell การเข้าออเดอร์ในทิศทางที่คาดว่าราคาจะลง
Spread ผลต่างระหว่างราคาซื้อ กับราคาขาย 
Swap ผลต่างอัตราดอกเบี้ยเมื่อถือออเดอร์ข้ามคืน
Indicator กราฟที่บอกถึงสถิติการเปลี่ยนแปลงค่าเงินในอดีต ใช้เพื่อทำนายแนวโน้มที่จะเกิดต่อไปในอนาคต
Expert Advisor (EA) โปรแกรมที่ช่วยซื้อขาย ค่าเงินอัตโนมัติ
Copy Trade ระบบการลงทุนในตลาดโฟเรกซ์ด้วยการฝากเทรด
PAMM กองทุนรวมเพื่อการลงทุนในตลาดโฟเรกซ์
Balance จำนวนเงินฝากรวมกับผลกำไรที่ซื้อขายล่าสุด
Equity จำนวนเงินสุทธิคงเหลือของการลงทุนในเวลานั้นๆ
Margin เงินประกันที่วางไว้เพื่อเปิดออเดอร์ในตลาดโฟเรกซ์ 
Free Margin เงินที่ยังไม่ใช้ในการวางประกัน
Margin Level ระดับหลักประกันคงเหลือในการเปิดออเดอร์ในตลาดโฟเรกซ์
Margin Call ระดับที่โบรคเกอร์จะแจ้งเตือนหากมีหลักประกันในการเปิดออเดอร์ในตลาดโฟเรกซ์น้อยเกินไป
Hedge การเข้าออเดอร์ในตลาดโฟเรกซ์ ทั้งขึ้น และลง ด้วยขนาดออเดอร์(Lot)เท่ากัน
Leverage ความสามารถในการลงทุนจำนวนมาก แต่ใช้เงินจำนวนน้อย
Profit กำไร
Take Profit(TP) ขายออเดอร์ แบบได้กำไร
Stop Loss(SL) ขายออเดอร์ แบบขาดทุน
Drawdown การติดลบจากการเข้าออเดอร์ 
Pending Order การตั้งคำสั่ง Buy หรือ Sell ไว้ล่วงหน้า 
Sell Limit การตั้งค่าล่วงหน้าไว้ว่าจะเข้าออเดอร์ Sell เมื่อราคาสูงกว่าปัจจุบัน(ไปรอที่ราคาสูงแล้วดักว่ากลับตัวลง)
Buy Limit การตั้งค่าล่วงหน้าไว้ว่าจะเข้าออเดอร์ Buyl เมื่อราคาต่ำกว่าปัจจุบัน(ไปรอที่ราคาต่ำแล้วดักว่ากลับตัวขึ้น)
Sell stop การตั้งค่าล่วงหน้าไว้ว่าจะเข้าออเดอร์ Sell เมื่อราคาต่ำกว่าปัจจุบัน(ไปรอที่ราคาต่ำแล้วดักว่าลงต่อไป)
Buy stop การตั้งค่าล่วงหน้าไว้ว่าจะเข้าออเดอร์ Buy เมื่อราคาสูงกว่าปัจจุบัน(ไปรอที่ราคาสูงแล้วดักว่าขึ้นต่อไป)
Money Management การวางแผนเงินเพื่อเข้าออเดอร์ด้วยขนาด Lot ที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงการขาดทุนของเงินทั้งหมด
Non Dealing Desk(NDD) การส่งราคาซื้อขายตรงไปยังตลาดโฟเรกซ์ โดยไม่ผ่านตัวกลาง
Non Farm Payroll ตัวเลขการจ้างงานของคนสหรัฐฯ ในธุรกิจนอกภาคเกษตรกรรม
MetaTrader โปรแกรมที่ใช้เป็นตัวการในการส่งคำสั่งซื้อขายคู่สกุลเงิน ในตลาดโฟเรกซ์ 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 เนื้อหาต่อไป >> การเลือกโบรกเกอร์ FOREX 

 

 

 

หน้าหลัก